สายด่วนข้อมูลโควิด-19
หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับโควิด-19 โปรดโทรมาที่ 1-800-525-0127 แล้วกด 7 เมื่อมีผู้รับสาย ให้แจ้งภาษาของคุณเพื่อใช้บริการล่ามแปลภาษา สายด่วนให้บริการในวันจันทร์ เวลา 6.00 น. ถึง 22.00 น. และวันอังคารถึงวันอาทิตย์ (และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 6.00 น. ถึง 18.00 น.
เป็นผู้ป่วยติดบ้านและต้องการวัคซีนโควิด-19 ใช่หรือไม่
ดูแลตัวเองด้วยนะ ชาววอชิงตัน - การใช้ชีวิตให้ดีและปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด
เรารู้แล้วว่า COVID-19 จะอยู่ในชีวิตของเราต่อไปในอนาคตเท่าที่เราคาดการณ์ได้ เป็นเรื่องสำคัญที่เราควรรู้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร โดยที่ทำให้ตัวเรา คนที่เรารัก และชุมชุมของเราปลอดภัยจากโรคให้มากที่สุด วิธีที่เราจะทำเช่นนั้นได้ ก็ด้วยมาตรการต่างๆ ที่เรามี ได้แก่ การฉีดวัคซีนเข็มหลักและเข็มกระตุ้น การรับการตรวจเชื้อ การอยู่บ้านหากไม่สบายหรืออาจสัมผัสโรคมา การสวมหน้ากากเมื่ออยู่กับผู้คน และการรักษาระยะห่าง
สิ่งที่คุณควรรู้เมื่ต้องใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ร่วมกับ COVID-19 ในชุมชน
ลงมือดูแลตัวเอง
หากคุณมีเชื้อ COVID-19 ในตอนนี้
ทรัพยากรและข้อมูลเพิ่มเติม
- อาการ สัญญาณ และการป้องกัน COVID-19
-
อาการของ COVID-19 ที่พบได้บ่อย ได้แก่
- ไอ หายใจติดขัดหรือหายใจลำบาก มีไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ไม่รู้รส หรือไม่ได้กลิ่น และอาการอื่น ๆ ที่พบได้ไม่บ่อยนัก ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
- โทรหา 911 หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณเตือนอาการฉุกเฉินของ COVID-19 ต่อไปนี้
- หายใจลำบาก
- เจ็บหรือแน่นหน้าอกตลอดเวลา
- เวียนหัวเฉียบพลัน
- ไม่สามารถตื่นหรือตื่นตัวอยู่ได้
- ผิวซีด เทา หรือฟกช้ำ อาจเป็นที่ริมฝีปากหรือฐานเล็บก็ได้ ขึ้นอยู่กับโทนสีผิว
- กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง
- ผู้สูงอายุ บุคคลไม่ว่าช่วงอายุใดก็ตามที่มีโรคประจำตัว และสตรีมีครรภ์ อาจมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงจาก COVID-19
จะปกป้องตัวเองและครอบครัวได้อย่างไร
- ฉีดวัคซีนเข็มหลักและเข็มกระตุ้นหากสามารถฉีดได้
- อยู่บ้านหากมีอาการป่วย
- ใส่หน้ากากและอยู่ห่างจากคนอื่นหกฟุต (สองเมตร) เมื่อออกไปข้างนอกในที่สาธารณะซึ่งมีผู้คนเป็นจำนวนมาก
- หลีกเลี่ยงกลุ่มคนและพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี
- ล้างมือบ่อย ๆ และใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ
- ใช้ข้อศอกหรือกระดาษทิชชู่ปิดปากและจมูกขณะไอและจาม
- อย่าสัมผัสใบหน้า ปาก จมูก หรือตาของคุณ
- ทำความสะอาดพื้นผิวของสิ่งของในบ้าน
- หากคุณมีอาการของ COVID-19 โปรดติดต่อผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณ หากคุณไม่มีผู้ให้บริการหรือประกันสุขภาพ สามารถใช้บริการนัดหมายบริการสุขภาพทางไกลฟรี (ภาษาอังกฤษ) ผ่าน Department of Health (DOH, กรมอนามัย)
- การไปที่ร้านค้าและสถานที่สาธารณะอย่างปลอดภัยมากขึ้น
-
มีหลายสิ่งที่คุณควรระวังเพื่อปกป้องตัวคุณและผู้อื่นก่อนและหลังการออกจากบ้านของคุณและขณะที่คุณอยู่นอกบ้าน
ก่อนออกจากบ้าน
- หากสามารถทำได้ อย่าไปร้านค้าและสถานที่สาธารณะถ้าคุณมีอาการเจ็บป่วย แต่ขอให้สมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนซื้อของให้กับคุณ
- เลือกซื้อของชำ ยา และสินค้าอื่น ๆ ทางออนไลน์ และให้จัดส่งมาที่บ้านของคุณ
- หากทำได้ ให้พยายามไปร้านค้าในช่วงที่คนน้อย
- ล้างมือของคุณก่อนที่จะออกจากบ้าน
ขณะอยู่ในพื้นที่แออัดภายในอาคาร
- ให้สวมหน้ากากที่ปิดจมูกและปากของคุณ
- เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อยหกฟุต (สองเมตร) รวมถึงตอนที่ต่อแถวชำระเงิน
- ปิดปากและจมูกขณะที่คุณไอหรือจาม
- อย่าจับใบหน้าของคุณ
- หากคุณออกไปซื้อของ ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือหรือผ้าเปียกฆ่าเชื้อทำความสะอาดที่จับรถเข็นหรือตะกร้าซื้อของของคุณ
เมื่อกลับถึงบ้าน
- ซักผลิตภัณฑ์ปกปิดใบหน้าและเก็บในที่ที่ปลอดภัย ทิ้งหน้ากากแบบใช้แล้วทิ้ง
- ล้างมือของคุณ
- ทำตามแนวทางเพื่อความปลอดภัยสำหรับอาหาร อย่าใช้การฆ่าเชื้อกับผลิตภัณฑ์อาหาร ล้างผักและผลไม้ตามปกติ
- การตั้งครรภ์ ทารก และ COVID-19
-
สิ่งที่คุณควรรู้เมื่อคุณตั้งครรภ์
- ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือเพิ่งตั้งครรภ์มีความเสี่ยงมากกว่าที่จะมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงจาก COVID-19 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
- ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 ระหว่างตั้งครรภ์ยังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะคลอดก่อนกำหนด (ให้กำเนิดทารกขณะอายุครรภ์ยังไม่ถึง 37 สัปดาห์) ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ และอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
- ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือเพิ่งตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่ใกล้ชิดกับบุคคลเหล่านี้ ควรทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อช่วยปกป้องตัวเองจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
- ฉีดวัคซีนเข็มหลักและเข็มกระตุ้น
- ใส่หน้ากาก
- อยู่ห่างจากผู้อื่นหกฟุต (สองเมตร) และหลีกเลี่ยงกลุ่มคนและพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี
- ตรวจหาเชื้อเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่โรคสู่ผู้อื่น
- ล้างมือบ่อย ๆ และใช้ข้อศอกหรือกระดาษทิชชู่ปิดปากและจมูกของคุณขณะไอและจาม
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในบ้านของคุณอย่างสม่ำเสมอ
- ประเมินสุขภาพของคุณทุกวัน
- โทรหาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพทันทีหากมีความกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ มีอาการป่วย หรือคิดว่าอาจติดเชื้อ COVID-19
การตั้งครรภ์และวัคซีนป้องกัน COVID-19
- ขอแนะนำให้ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่ให้นมบุตร ผู้ที่พยายามจะตั้งครรภ์ หรือผู้ที่อาจตั้งครรภ์ในอนาคตฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19
- มีหลักฐานยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกัน COVID-19 ขณะตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 มีข้อดีมากกว่าความเสี่ยงที่ทราบหรือที่อาจเป็นไปได้จากการฉีดวัคซีนระหว่างตั้งครรภ์
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เข็มกระตุ้นด้วยหากสามารถฉีดได้
- วัคซีนป้องกัน COVID-19 ไม่ทำให้ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือทารกในครรภ์ติดเชื้อ COVID-19
- ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าวัคซีนใด ๆ รวมถึงวัคซีนป้องกัน COVID-19 ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยากทั้งในผู้หญิงหรือผู้ชาย
- หากคุณกำลังตั้งครรภ์และมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน COVID-19 โปรดปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ หรือติดต่อ MotherToBaby ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมตอบคำถามทางโทรศัพท์หรือแชท บริการฟรีที่ไม่เปิดเผยข้อมูลผู้สอบถามนี้เปิดให้บริการวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00 น. ถึง 17.00 น. โปรดไปที่ MotherToBaby (ภาษาอังกฤษ) เพื่อแชทสด หรือส่งอีเมล หรือโทรไปที่ 1-866-626-6847 (มีให้บริการเป็นภาษาอังกฤษและสเปนเท่านั้น)
วิธีการดูแลทารกแรกเกิดหากติดเชื้อ COVID-19
- ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 ขณะตั้งครรภ์จะไม่ติดเชื้อ COVID-19 เมื่อคลอดออกมา
- ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ที่มีผลตรวจ COVID-19 เป็นบวกจะมีอาการน้อยมากหรือไม่มีเลย และรักษาหายได้ รายงานชี้ว่ามีเพียงบางกรณีที่ทารกแรกเกิดมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงจาก COVID-19
- หากคุณกำลังแยกตัวเนื่องจากติดเชื้อ COVID-19 และคุณมีทารกแรกเกิด โปรดทำตามมาตรการป้องกันต่อไปนี้จนกว่าจะสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาแยกตัวของคุณ
- อยู่บ้านเพื่อแยกตัวคุณจากคนที่ไม่ได้อยู่อาศัยร่วมกับคุณ
- แยกตัว (อยู่ให้ห่าง) จากสมาชิกครอบครัวคนอื่นที่ไม่ติดเชื้อ และสวมหน้ากากเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน
- หาผู้ดูแลที่มีสุขภาพดี ได้รับวัคซีนครบแล้ว และไม่มีความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วยรุนแรงมาดูแลทารกแรกเกิดของคุณ หากทำได้ให้ปั๊มนมใส่ขวดเพื่อให้ผู้ดูแลเป็นผู้ป้อนให้กับทารก หากคุณใช้นมผง ขอให้ผู้ดูแลที่สุขภาพดีเป็นผู้จัดเตรียมแทน
- ทำตามมาตรการป้องกันที่แนะนำหากคุณต้องดูแลทารกแรกเกิดของคุณก่อนที่กำหนดการแยกตัวจะสิ้นสุดลง รวมถึงใส่หน้ากากขณะอุ้มหรือให้นมทารกของคุณด้วย
- คอยสังเกตอาการต่าง ๆ ของ COVID-19 ในทารกแรกเกิด
- หลักฐานปัจจุบันชี้ว่านมแม่ไม่มีแนวโน้มที่จะแพร่ไวรัสให้กับเด็กอ่อน การศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะส่งต่อภูมิคุ้มกันแอนติบอดีไปสู่ทารกผ่านการให้นมแม่ หากคุณติดเชื้อ COVID-19 และเลือกที่จะให้นมแม่หรือให้ลูกดูดนมจากเต้า ควรปฏิบัติดังนี้
- ล้างมือของคุณก่อนที่จะดูแลลูก
- ใส่หน้ากากขณะที่ดูแลหรือให้นมและเมื่อใดก็ตามที่อยู่ในระยะหกฟุต (สองเมตร) จากทารก
Perinatal Support Washington Warm Line (สายด่วนให้คำปรึกษาช่วยเหลือด้านปริกำเนิดรัฐวอชิงตัน) มีบริการให้ข้อมูลและความช่วยเหลือทางสุขภาพจิตสำหรับบุคคลที่เพิ่งเริ่มหรือกำลังจะเป็นผู้ปกครอง รวมถึงผู้ใกล้ชิด โทรหา Perinatal Support Washington Warm Line ที่ 1-888-404-7763 หรือไปที่ www.perinatalsupport.org/warm-line (ภาษาอังกฤษ) ส่งข้อความหรืออีเมลไปที่ warmline@perinatalsupport.org
การขอความช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญ สายด่วนให้คำปรึกษาตอบคำถามสดวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 9.00 ถึง 16.30 น. (มีให้บริการเป็นภาษาอังกฤษและสเปนเท่านั้น) หลังเวลาให้บริการหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ โปรดฝากข้อความไว้แล้วเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับหาคุณภายใน 1-12 ชั่วโมง สายด่วนมีเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ นักบำบัดที่มีใบอนุญาต หรือผู้ปกครองที่มีประสบการณ์ด้านอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลหลังคลอดบุตรคอยให้คำปรึกษา
- การดูแลตัวคุณเองและครอบครัว
-
Washington Listens (โครงการวอชิงตันพร้อมรับฟัง): หากคุณต้องการพูดคุยเกี่ยวกับความเครียดที่เกิดจาก COVID-19 สามารถโทรหา Washington Listens ที่หมายเลข 1-833-681-0211 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่พร้อมพูดคุยกับคุณตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 9.00 น. ถึง 21.00 น. และในวันหยุดสุดสัปดาห์ เวลา 9.00 น. ถึง 18.00 น. โดยมีบริการให้ความช่วยเหลือทางภาษาด้วยการแปลภาษาและโทรพิมพ์อีกด้วย นอกจากนี้ คุณสามารถดูแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตใจและอารมณ์ได้ที่นี่ (ภาษาอังกฤษ)
- คอยติดตามข่าวสารสถานการณ์ของการแพร่ระบาดในปัจจุบันและคำแนะนำเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หน่วยงานสาธารณะสุข และหน่วยงานสุขภาพในท้องถิ่น รวมถึงข่าวล่าสุดจากเว็บไซต์สาธารณสุข
- ทำรายการแหล่งข้อมูลในชุมชนเอาไว้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ เว็บไซต์ และบัญชีโซเชียลมีเดีย หรือจะเพิ่มโรงเรียน แพทย์ องค์กรสาธารณสุข บริการสังคมสงเคราะห์ ศูนย์สุขภาพจิตชุมชน และสายด่วนไว้ด้วยก็ได้
- ติดต่อกับเพื่อนและสมาชิกครอบครัวอยู่เสมอทางโทรศัพท์หรือหรือบริการออนไลน์
- จัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้เกี่ยวกับสุขภาพพื้นฐานให้พร้อมใช้ (เช่น สบู่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ กระดาษทิชชู่ เทอร์โมมิเตอร์ ยาลดไข้ และชุดตรวจ COVID-19 ด้วยตัวเอง)
- พยายามสำรองยาที่คุณหรือสมาชิกครอบครัวต้องใช้เป็นประจำ
ความช่วยเหลือสำหรับสมาชิกในครอบครัวของคุณที่อายุยังน้อย
- รับความช่วยเหลือและรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับเพื่อนและครอบครัวของคุณ ด้วยการพูดคุยกันทางโทรศัพท์ ส่งข้อความ ส่งอีเมล หรือแชทกันทางโซเชียลมีเดีย
- หากข่าวสารทำให้บุตรหลานของคุณเครียด ให้พวกเขาได้พักบ้าง คุยกับบุตรหลายเพื่ออธิบายข้อมูลที่อาจได้รับมาจากอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งอื่น ๆ
- มุ่งเน้นให้การสนับสนุนเด็ก ๆ ด้วยการเปิดโอกาสให้บุตรหลานซักถามและช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน
- พูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณและอธิบายให้บุตรหลานรับรู้
- ช่วยให้บุตรหลานได้แสดงความรู้สึกผ่านการวาดรูปหรือกิจกรรมอื่น ๆ
- ทำให้บุตรหลานสบายใจ และโปรดใช้ความอดทนมากกว่าปกติสักเล็กน้อย